แถลงผลการปฏิบัติการปราบปรามผู้โพสต์ข่าว FAKE NEWS ชุดประสานงานกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( ศปอส.ตร. )

ผลการปฏิบัติการปราบปรามผู้โพสต์ข่าวปลอม / ข่าวบิดเบือน ชุดประสานงานกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( ศปอส.ตร. )

เนื่องด้วยสภาวะสังคมปัจจุบันภัยอันตรายจาก Internet ได้เพิ่มขึ้นและเปลี่ยนแปลงรูปแบบตลอดเวลา มีหลายรูปแบบที่กลุ่มมิจฉาชีพใช้ในการกระทำผิด เช่น สร้าง website ข่าวปลอม ปิดบังตัวตนผู้จดทะเบียน website สร้างความเสียหายต่อความมั่นคง-เศรษฐกิจของประเทศ  สร้างความตื่นตระหนกแก่ประชาชน  หรือหลอกลวงประชาชนโดยผ่านทางช่องทางสื่อ Online  ต่าง ๆ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ก่อตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center)  เพื่อแก้ไขปัญหาข่าวปลอม ข่าวบิดเบือน ที่มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินต่อประชาชนโดยตรง เช่น โรคระบาด ภัยพิบัติ  ข่าวที่สร้างความแตกแยกในสังคม ข่าวที่สร้างความเข้าใจผิดต่อสังคมตลอดจนข่าว ที่ทำลายภาพลักษณ์ต่อประเทศ

พล.ต.อ.จักรทิพย์  ชัยจินดา ผบ.ตร.และ พล.ต.อ.สุวัฒน์  แจ้งยอดสุข รอง ผบ.ตร. มีความห่วงใยประชาชนผู้ที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมเหล่านี้  จึงมีนโยบายกำชับทุกหน่วย ทำการสืบสวน จับกุม ปราบปราม การกระทำผิดในลักษณะนี้มาโดยตลอด เพราะถือได้ว่าการกระทำผิดในลักษณะดังกล่าวได้สร้างความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นด้านความมั่นคง สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ หรือ ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง เกิดความตื่นตระหนก ผบ.ตร. จึงได้มีคำสั่ง ตร.ที่ ๕๗๔/๒๕๖๒  ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๒ จัดตั้ง ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.)  โดยมอบหมายให้ พล.ต.อ.สุวัฒน์  แจ้งยอดสุข รอง ผบ.ตร. เป็นผู้อำนวยการศูนย์ เพื่อดำเนินการปราบปราม จับกุมผู้ที่กระทำผิดให้มารับโทษตามกฎหมาย  พร้อมดำเนินการบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น การเยียวยาให้ผู้เสียหายตามขั้นตอน ของกระบวนการยุติธรรม สร้างความเชื่อมั่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  ให้กับประชาชน โดยได้มอบหมายให้ พล.ต.ต.พันธนะ   นุชนารถ  ผบก.ขส.บช.ปส. เป็นหัวหน้า  เพื่อประสานความร่วมมือกับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center)  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ผลการดำเนินการตรวจสอบการกระทำความผิดฯ และดำเนินคดีที่เกี่ยวกับการเสนอข่าวอันไม่เป็น ความจริง บิดเบือนข่าวสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในห้วงวันที่ 25 พฤษภาคม – 5 มิถุนายน พ.ศ.2563  พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ ผบก.ข่าวกรองยาเสพติด หัวหน้าชุดประสานความร่วมมือกับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center)  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมควบคุมการปฏิบัติของชุดปฏิบัติ ซึ่งได้สั่งกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจากภาคส่วนต่างๆดำเนินการตามแนวปฏิบัติตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  โดยได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาจำนวน 1 ราย ปฏิบัติการโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2 ราย ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโพสต์ข่าวปลอม/บิดเบือนที่อาจจะ
เข้าข่ายการกระทำความผิด 6 ราย รวมผลการปฏิบัติทั้งหมด 9 ราย

ปัจจุบันได้มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ทำให้มีกลุ่ม
ผู้ไม่หวังดี ได้กระทำการโพสต์ เสนอข่าว อันไม่เป็นความจริง ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือบิดเบือนข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงขอเตือนประชาชน ที่จะโพสต์ข้อมูลข่าวสาร อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ พ.ร.ก.การบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ซึ่งมีอัตราโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหา การใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินและการใช้อำนาจตามกฎหมายอื่น ในการปฏิบัติการ จำนวน  ๙  ราย

  1. นางฉวีวรรณ ฯ ได้ใช้เฟสบุ๊ก “ ฉวีวรรณ”  โพสต์เนื้อหา “หญิงป่วยหนัก โควิด-19 ล้มห้างดังเมือง

ระยอง”ซึ่งทางกรมควบคุมโรค  กระทรวงสาธารณสุข แจ้งว่าเป็นข่าวปลอม จากการตรวจสอบพบว่าผู้โพสต์อยู่ที่ ต.ชุมแสง  อ.วังจันทร์ จ.ระยอง จึงประสานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.วังจันทร์ เข้าพบตัว  เบื้องต้นพบเจ้าตัวและยอมรับว่าโพสต์จริง  โดยเจ้าตัวจะมาพบพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งสองห้องพร้อมกับนำโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในการกระทำความผิด จำนวน  1  เครื่อง มามอบให้พนักงานสอบสวน ด้วยตนเอง

2. นายศรไกร ฯ ได้ใช้เฟสบุ๊ก “ เป้ ป….”โพสต์ว่า “กระเทียมไทย ช่วยต้าน covid 19” ซึ่งทางกรมควบคุมโรค  กระทรวงสาธารณสุข แจ้งว่าเป็นข่าวบิดเบือน เนื่องจากยังไม่มีการวิจัยว่ากระเทียมไทยสามารถรักษาโรคโควิด 19 ได้  จากการตรวจสอบพบว่าผู้โพสต์อยู่ที่ ต.บางใหญ่ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองสุพรรณบุรี เข้าเตือนให้ระงับ/สั่งให้แก้ไขข่าว อาศัยอำนาจตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 1 )  ข้อที่ 6 
ซึ่งออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548

3. น.ส.อฤทธิสา ฯ ได้ใช้เฟสบุ๊ก “Nok …….”โพสต์ว่า “ขิงน้ำกระชายผสมน้ำผึ้งมะนาว ช่วยต้าน  covid 19” ซึ่งทางกรมควบคุมโรค  กระทรวงสาธารณสุข แจ้งว่าเป็นข่าวปลอม  จากการตรวจสอบพบว่า ผู้โพสต์อยู่ที่ อ.นาจอมเทียน จ.ชลบุรี จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.นาจอมเทียน เข้าเตือนให้ระงับ/สั่งให้แก้ไขข่าว อาศัยอำนาจตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 1 )  ข้อที่ 6  ซึ่งออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.254

4. นางอังคนางค์ ฯ ได้ใช้เฟสบุ๊ก  “Aunganang…….” โพสต์เนื้อหา “รัฐหลอกให้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา เพื่อจะเรียกเก็บภาษี” ซึ่งทางกรมสรรพากร แจ้งว่าเป็นข่าวปลอม จากการตรวจสอบพบว่าผู้โพสต์อยู่ที่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี จึงประสานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองอุบลราชธานี เข้าทำการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโพสต์ข่าวปลอม/บิดเบือนค้น  เบื้องต้นพบ เจ้าตัวรับทราบการประชาสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว และได้ดำเนินการ โดยการลบโพสต์ดังกล่าวด้วยความสมัครใจของตนเอง และรับปากว่าจะไม่โพสต์ข้อความ
ที่เป็นข่าวปลอม/บิดเบือน ในลักษณะดังกล่าวนี้อีก

5. นายวีระวุฒิ ฯ ได้ใช้เฟสบุ๊ก  “ม.แมน……”  โพสต์เนื้อหา “รัฐหลอกให้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา เพื่อจะเรียกเก็บภาษี” ซึ่งทางกรมสรรพากร แจ้งว่าเป็นข่าวปลอม จากการตรวจสอบพบว่าผู้โพสต์อยู่ที่ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด จึงประสานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เกษตรวิสัย เข้าทำการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโพสต์ข่าวปลอม/บิดเบือนค้น  เบื้องต้นพบ เจ้าตัวรับทราบการประชาสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วและได้ดำเนินการ โดยการลบโพสต์ดังกล่าวด้วยความสมัครใจของตนเอง และรับปากว่าจะไม่โพสต์ข้อความที่เป็นข่าวปลอม/บิดเบือน ในลักษณะดังกล่าวนี้อีก

6. น.ส.กิตติยา ฯ ได้ใช้เฟสบุ๊ก  “Kittiya…..”  โพสต์เนื้อหา “รัฐหลอกให้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา เพื่อจะเรียกเก็บภาษี” ซึ่งทางกรมสรรพากร แจ้งว่าเป็นข่าวปลอม จากการตรวจสอบพบว่าผู้โพสต์อยู่ที่ อ.จักราช จ.นครราชสีมา  จึงประสานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.จักราช เข้าทำการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโพสต์ข่าวปลอม/บิดเบือนค้น  เบื้องต้นพบ เจ้าตัวรับทราบการประชาสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว และได้ดำเนินการ โดยการลบโพสต์ดังกล่าวด้วยความสมัครใจของตนเอง และรับปากว่าจะไม่โพสต์ข้อความที่เป็นข่าวปลอม/บิดเบือน ในลักษณะดังกล่าวนี้อีก

7. นางกุลิสรา ฯ ได้ใช้เฟสบุ๊ก  “Took……”  โพสต์เนื้อหา “รัฐหลอกให้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา เพื่อจะเรียกเก็บภาษี” ซึ่งทางกรมสรรพากร แจ้งว่าเป็นข่าวปลอม จากการตรวจสอบพบว่าผู้โพสต์อยู่ที่ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ จึงประสานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.พระสมุทรเจดีย์ เข้าทำการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโพสต์ข่าวปลอม/บิดเบือนค้น  เบื้องต้นพบ เจ้าตัวรับทราบการประชาสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว และได้ดำเนินการ โดยการลบโพสต์ดังกล่าวด้วยความสมัครใจของตนเอง และรับปากว่าจะไม่โพสต์ข้อความที่เป็นข่าวปลอม/บิดเบือน ในลักษณะดังกล่าวนี้อีก

8. นางเมฐิณี ฯ ได้ใช้เฟสบุ๊ก  “Methinee…….”  โพสต์เนื้อหา “รัฐหลอกให้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา เพื่อจะเรียกเก็บภาษี” ซึ่งทางกรมสรรพากร แจ้งว่าเป็นข่าวปลอม จากการตรวจสอบพบว่าผู้โพสต์อยู่ที่ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง จึงประสานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.เมืองยาว เข้าทำการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโพสต์ข่าวปลอม/บิดเบือนค้น  เบื้องต้นพบ เจ้าตัวรับทราบการประชาสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วและได้ดำเนินการ โดยการลบโพสต์ดังกล่าวด้วยความสมัครใจของตนเอง และรับปากว่าจะไม่โพสต์ข้อความที่เป็นข่าวปลอม/บิดเบือน ในลักษณะดังกล่าวนี้อีก

9. นายพีระเชษฐ์ ฯ ได้ใช้เฟสบุ๊ก  “Peerachet……”  โพสต์เนื้อหา “รัฐหลอกให้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา เพื่อจะเรียกเก็บภาษี” ซึ่งทางกรมสรรพากร แจ้งว่าเป็นข่าวปลอม จากการตรวจสอบพบว่าผู้โพสต์อยู่ที่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช  จึงประสานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองนครศรีธรรมราช เข้าทำการประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโพสต์ข่าวปลอม/บิดเบือนค้น  เบื้องต้นพบ เจ้าตัวรับทราบการประชาสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว และได้ดำเนินการ โดยการลบโพสต์ดังกล่าวด้วยความสมัครใจของตนเอง และรับปากว่าจะไม่โพสต์ข้อความที่เป็นข่าวปลอม/บิดเบือน ในลักษณะดังกล่าวนี้อีก