น้ำใจที่ยิ่งใหญ่ “สารวัตรจราจรพัทยา” บริจาคพลาสมา ช่วยผู้ป่วยโควิด-19 พร้อมชวนผู้ป่วยโควิดหายแล้วร่วมบริจาค

พ.ต.ท.อรุษ สภานนท์ สารวัตรจราจร สภ.เมืองพัทยา เปิดเผยหลังเดินทางเข้าบริจาคพลาสมา ที่สภากาดไทย ว่า หลังจากเมื่อช่วงกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมาตัวเองติดเชื้อโควิด-19 และได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 14 วัน จนครบกำหนดและหายดีเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งระหว่างการรักษาตัวได้เห็นข่าวและเพจของสภากาชาดไทยเปิดรับให้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยมาบริจาคพลาสมา ทั้งนี้ด้วยความตั้งใจว่าหากตัวเองรักษาอาการป่วยหายแล้วจะไปบริจาคพลาสมา ซึ่งหลังจากหายป่วยก็ได้ติดต่อไปยังเฟสบุ๊คสภากาชาดไทย เพื่อสอบถามรายเอียดขั้นก่อนการเข้าบริจาคพลาสมา และทราบว่าผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยแล้วเป็นเวลา 28 วัน จึงจะสามารถเข้าตรวจสุขภาพก่อนที่จะบริจาคพลาสมาได้ ทั้งนี้จึงได้ลงทะเบียนไว้


โดยในวันที่ 2 มิถุนายน ที่ผ่านมาได้เดินทางไปตรวจปริมาณภูมิคุ้มกัน เพื่อบริจาคพลาสมา ด้วยความตั้งใจในการนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่กำลังติดโควิด-19 ซึ่งจาการสอบถามแพทย์พบว่าผู้ที่หายป่วยโควิด-19 1 ราย สามารถบริจาคพลาสมาได้ไม่เกิน 6 ครั้ง และหลังจากนั้นภูมิคุ้มกันก็จะลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยการบริจาค 1 ครั้งต้องทิ้งระยะห่างออกไป 14 วัน ส่วนการบริจาคครั้งที่ผ่านมาได้พลาสมาประมาณ 500-600 ซีซี ทั้งนี้อยากเชิญชวนผู้ป่วยโควิด-19ที่รักษาหาย เพศชาย ที่มีสุขภาพแข็งแรงร่วมเดินทางเข้าบริจาคพลาสมาที่สภากาชาดไทย ถึงแม้ปัจจุบันในประเทศไทยจะพบผุ้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลง แต่พลาสมายังมีความสำคัญและมีความจำเป็นที่สภากาชาดไทยมีความต้องการนำพลาสมาไปช่วยยับยังอาการของผู้ป่วยโควิด-19 จากหนักให้เบาลงและอาจนำพลาสมาไปผลิตวัคซีนโควิด-19ต่อไปในอนาคต


ทั้งนี้ข้อมูลจากเฟซบุ๊กส่วนตัว “Yong Poovorawan” หรือ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า พลาสมาที่ได้จะมีภูมิต้านทานต่อไวรัส โควิด-19 เพื่อนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วย พลาสม่า นี้สามารถเก็บไว้ได้ถึง 1 ปี ผู้ที่หายแล้ว จะมีภูมิต้านทานหรือที่เรียกว่าแอนติบอดีต่อโรค โควิด-19 เปรียบเสมือนเป็นเซรุ่ม ที่ใช้รักษาโรคในผู้ที่หายแล้ว 1 คนสามารถบริจาคพลาสม่าได้สูงสุดถึง 6 ครั้ง โดยทั่วไปแอนติบอดี้จะค่อยๆลดลงจนถึง 6 เดือนหลังจากที่มีอาการของโรค