ตำรวจไซเบอร์ จัดการทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับอาชญากรรมเทคโนโลยี ให้แก่ข้าราชการตำรวจในสังกัด

ในตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้จัดตั้งขึ้นมา มีข้าราชการตำรวจในสังกัดที่มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายที่เกี่ยวข้องและวิธีการดำเนินการสืบสวน ป้องกัน ปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยี มีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ กอปรกับ เพื่อเป็นการสอดรับกับนโยบายของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ที่มีวิสัยทัศน์ว่า “เป็นองค์กรบังคับใช้กฎหมาย ที่นำสมัย ในระดับมาตรฐานสากล เพื่อให้ประชาชน เชื่อมั่นศรัทธา” โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมทั้ง สถานการณ์ปัจจุบันที่กลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวกระทำความผิดบนโลกออกนไลน์ เป็นจำนวนมาก

การทดสอบความรู้ความเข้าใจและเป็นการพัฒนาศักยภาพของข้าราชการตำรวจในสังกัด ให้มีความรู้ ความสามารถด้านงานสืบสวน สอบสวน ป้องกันปราบปราม อาชญากรรมทางเทคโนโลยี จึงได้ตั้งกำหนดให้มีคณะกรรมการออกข้อสอบ จำนวน 500 ข้อ ที่มาจาก คณะทำงานด้านการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 5 ประเภท ได้แก่ ประเภทหลอกลวงโอนเงิน (Scam หรือ Call Center) หลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อนำไปทำธุรกรรมทางธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ แชร์ลูกโซ่ หลอกลวงให้ลงทุนทางออนไลน์, ประเภทการหลอกลวงซื้อขายสินค้าออนไลน์และสิ่งผิดกฎหมาย, ประเภทการกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ฯ การเผยแพร่ข่าวปลอม การเข้าถึงข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ การเรียกค่าไถ่คอมพิวเตอร์, ประเภทการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก หรือสตรีทางอินเตอร์เน็ต ซื้อขายสิ่งลามก อนาจารเด็ก บริการศทางเพศ การค้ามนุษย์, ประเภทการพนันออนไลน์ อาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้ง การสืบสวนเกี่ยวกับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี การตรวจเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัล และการสืบสวนอาขญากรรมทางไซเบอร์ เป็นต้น พร้อม ให้ข้าราชการตำรวจในสังกัด ที่จะรับการทดสอบ นำไปทบทวน ศึกษา ก่อนที่จะวัดความรู้ เป็นเวลา 1 เดือน

สำหรับการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี การสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทางทางดิจิทัล ให้แก่ข้าราชการตำรวจในสังกัด เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย จำนวน 100 ข้อ จากแนวข้อสอบจำวน 500 ข้อ โดยมีผู้เข้ารับการทดสอบ ตั้งแต่ ระดับ รอง ผกก. – ผบ.หมู่ ในสายปฏิบัติการ (งานสืบสวนสอบสวน) จำนวน 680 นาย โดยผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องผ่านเกณฑ์ทดสอบ ที่ร้อยละ 60 และได้กำหนดวันทดสอบในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งแบ่งสนามทดสอบ จำนวน 4 แห่ง ดังนี้
1.อาคารศูนย์ประชุมสัมนาและฝึกอบรม บช.ก. และ อาคารที่ทำการ บช.สอท. เมืองทองธานี จำนวน 391 คน
2.ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 3 จว.นครราชสีมา จำนวน 128 คน

  1. บก.สอท.4 (ส่วนหน้า) จว.เชียงใหม่ จำนวน 23 คน
    4.ศูนย์ฝึกอบรมตำรวภูธรภาค 8 จว.สุราษฎร์ธานี จำนวน 149 คน

ซึ่งโครงการทดสอบความรู้ ความสามารถของข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานด้านสืบสวน สอบสวน ป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีความมุ่งหวังให้ข้าราชการตำรวจมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนยีและสามารถนำความรู้ที่ได้จากการทดสอบไปปรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ให่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ จะมีรางวัลให้แก่ ข้าราชการตำรวจ ผู้ที่มีผลการทดสอบ เป็นลำดับที่ 1, 2, 3 ของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี